Edit title Here

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่
นักคิดร้อยคำ นักธรรมร้อยใจ
วันนี้มีอะไรใหม่ ๆ เสมอในชีวิต
อย่างน้อยก็มีความรักของพระเจ้า
เป็นความรัก...ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง...
และอยู่กับเราเสมอ...แม้เราจะไม่ค่อยใส่ใจก็ตาม
Enter
BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประกาศใช้กฎหมาย

การประกาศใช้กฎหมาย (Promulgazione)
(มาตรา ๗-๘: ๘-๙,๒๙๑/๑,๓๓๕/๒, ๓๖๒)

การประกาศใช้ (Promulgazione) คือ การประกาศข้อกฎหมายต่อกลุ่มคน อย่างเป็นทางการและถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากการประกาศทั่วไปที่ไม่ต้องเป็นทางการและไม่ต้องดำเนินตามกฎหมาย
การประกาศใช้ (Promulgazione) มีความจำเป็นเพราะว่ากฎหมายนั้นเรียกร้องการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด

วิธีการประกาศใช้
๑. กฎหมายที่ออกโดยสันตะสำนัก ต้องได้รับการประกาศใช้ ผ่านทางการตีพิมพ์ลงในหนังสือทางการของสันตะสำนัก “Acta Apostolicae Sedis” เว้นแต่ว่ามีการกำหนดใช้รูปแบบอื่นในการประกาศเป็นกรณีเฉพาะ
๒. กฎหมายที่ออกโดยผู้ออกกฎหมายอื่น ๆ รองลงมา  ต้องได้รับการประกาศใช้ตามที่ผู้ออกกฎหมายกำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น การพิมพ์ลงในแถลงการณ์ของสังฆมณฑล (Bollettino Diocesano) หรือ การพิมพ์ลงใน Commentarium Ordinis ฯลฯ

ระยะเวลาก่อนการมีผลบังคับใช้ของกฎหมาย (Vacazione della legge)
๑. ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ผู้ออกกฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเห็นสมควรว่าเป็นช่วงเวลาที่เพียงพอที่จะทำให้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้กฎหมายก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ตามข้อปฏิบัตินั้น ๆ
๒. กฎหมายพระศาสนจักรที่ออกโดยสันตะสำนัก ซึ่งหมายถึง กฎหมายสากล (Le leggi universali) มีผลบังคับใช้ โดยนับหลังจากวันที่ได้รับการตีพิมพ์ลงใน AAS แล้ว ๓ เดือน
๓. กฎหมายเฉพาะพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น มีผลบังคับใช้หลังจากการประกาศแล้ว ๑ เดือน เว้นแต่ว่าได้กำหนดระยะเวลาเป็นอย่างอื่นในตัวกฎหมายเอง
๔. กฎหมายที่ออกโดยผู้ออกกฎหมายอื่น ๆ รองลงมา ไม่มีการกำหนดเวลาก่อนการมีผลบังคับใช้ เว้นแต่ว่าได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

สาระสำคัญของกฎหมายพระศาสจักร (Materia della legge)
สาระสำคัญของกฎหมายพระศาสจักรประกอบด้วย สิ่งที่ต้องกระทำ สิ่งที่ต้องละเว้น บุคคลที่เกี่ยวข้อง และทรัพย์สินซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนรวมของพระศานจักร โดยแท้จริงแล้วพระศาสนจักรไม่สามารถออกคำสั่งบังคับการกระทำภายในจิตใจได้ พระศาสนจักรเพียงแค่กำหนดสิ่งที่จะทำให้เกิดผลดีภายในจิตใจเท่านั้น ซึ่งสิ่งนั้นต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำภายนอกด้วย ยกตัวอย่างเช่น กฎเรื่องการรับศีลมหาสนิทในช่วงปัสกา ซึ่งหมายถึง กฎที่ต้องกระทำเพื่อคุณค่าที่ได้รับจากศีลมหาสนิท
        กฎหมายพระศาสนจักรใช้กับเรื่องในอนาคตมิใช่เรื่องในอดีต เว้นไว้แต่ว่ามีการระบุไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับเรื่องในอดีต (มาตรา ๙) นั่นหมายถึง การรักษาไว้ซึ่ง กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิที่ได้มา การประนีประนอม และสิทธิพิเศษต่าง ๆ (มาตรา ๔)

ผู้มีอำนาจในการออกกฎหมาย (Soggetto attivo)
๑. สำหรับกฎหมายพระศาสนจักรสากล (leggi universali) ผู้ออกคือ สันตะสำนัก (Romano Pontefice) และ พระสังคายนาสากล (Concilio Ecumenico)
๒. สำหรับกฎหมายพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น (leggi particolari) ผู้ออกคือ Legati pontifici, Congregazioni Romane, สมัชชาใหญ่ และสมัชชาแขวง (Concili plenari e provinciali), พระสังฆราชสังฆมณฑล (Vescovi diocesani) ออกโดยตัวเองหรือผ่านทางสมัชชา (Sinodo), Capitoli generali ฯลฯ

-->
เนื้อหาและรูปภาพในบล็อกนี้ แม้จะไม่ใช่มืออาชีพ..แต่ถ้าจะนำไปใช้ในการอื่น ขอให้แจ้งเจ้าของบล็อกนิดนึงนะครับ
สงวนลิกขสิทธิ์ตามพ.ร.บ. ครับ...