Edit title Here

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่
นักคิดร้อยคำ นักธรรมร้อยใจ
วันนี้มีอะไรใหม่ ๆ เสมอในชีวิต
อย่างน้อยก็มีความรักของพระเจ้า
เป็นความรัก...ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง...
และอยู่กับเราเสมอ...แม้เราจะไม่ค่อยใส่ใจก็ตาม
Enter
BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บุคคลในบังคับใช้ของกฎหมายพระศาสนจักร

บุคคลในบังคับใช้ของกฎหมายพระศาสนจักร
(มาตรา ๑๑-๑๓: ๑๒-๑๔; SCSCD et SCpC Litt. circ., 31 mar. 1997; EM V)

บุคคลบังคับใช้ (il Soggetto attivo) ในกฎหมายพระศาสนจักร คือ ผู้ออกกฎหมาย
๑. บุคคลบังคับใช้ของกฎหมายพระศาสนจักรสากล คือ Romano Pontefice ผู้ซึ่งสามารถออกกฎหมายได้ด้วยตัวเอง หรือ ผ่านทางการสังคายนาสากล
๒. บุคคลบังคับใช้ของกฎหมายพระศาสจักรเฉพาะถิ่น คือ พระสังฆราชสังฆมณฑล ซึ่งสามารถออกกฎหมายได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านทางการสมัชชาสังฆมณฑล

*นอกจากนี้ บุคคลบังคับใช้ของกฎหมายพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น ยังมี พระสมณะทูต (Nunzi Ap.). le Congregazioni Romane, มหาอธิการของสถาบันชีวิตที่ถวายตัวแล้ว (i Capitoli Generali degli IVC.)
               
        บุคคลในบังคับใช้ (il Soggetto passive) ในกฎหมายทุกข้อ คือ ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง (i sudditi) ของผู้ออกกฎหมาย (Legislatore)

Soggetto in genere
๑. กฎหมายที่เป็นของพระศาสนจักรโดยเฉพาะ ใช้บังคับผู้ที่รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรคาทอลิกหรือผู้ที่พระศาสนจักรรับเข้ามา  และเป็นบุคคลที่สามารถใช้เหตุผลได้อย่างเพียงพอ และเป็นผู้ที่มีอายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ว่ากฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง (มาตรา ๑๑) ดังนั้นจะเห็นว่า เหตุผลที่บุคคลจะสามารถเป็นบุคคลในบังคับใช้ได้ มีอยู่ ๓ ประการ คือ
-  ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป
-  ผู้ที่สามารถใช้เหตุผลได้
-  ผู้ที่มีอายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์
๒. ผู้ออกกฎหมายแบบเดี่ยว (legistatore singolare) ถ้าไม่ใช่ในกฎกรณีความเท่าเทียมกัน จะไม่ได้ถูกบังคับใช้กฎหมาย แต่ถ้าผู้ออกกฎหมายเป็นหมู่คณะ (Collegiale) ต้องเป็นบุคคลในบังคับใช้กฎหมายด้วย

Soggetto in specie
กฎหมายทั่วไป (leggi generali) หรือกฎหมายสากล (leggi universali) มีผลบังคับใช้ทุกแห่งหนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะว่ากฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ที่สถานะตัวบุคคล
กฎหมายพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น (leggi particolari)
๑. กฎหมายพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น (leggi particolari) คือ กฎหมายที่ตราไว้เฉพาะถิ่น ใช้บังคับผู้ที่อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น และผู้ซึ่งมีภูมิลำเนา (Domicilio) หรือ กึ่งภูมิลำเนา (Quasi-Domicilio) ในถิ่นนั้น และยังอาศัยอยู่ในถิ่นนั้นจริงตามที่ผู้ออกกฎหมายได้กำหนดไว้ (มาตรา ๑๒ § ๓)
๒. สำหรับผู้เดินทาง (Pellegrini) ไม่ต้องขึ้นต่อกฎหมายเฉพาะถิ่นของตนเว้นแต่ว่าการละเมิดกฎหมายนั้นก่อให้เกิดความเสียหายในถิ่นของตน หรือเว้นแต่ว่าเป็นกฎหมายติดตัวบุคคล (๑๓ § ๒)
๓. ผู้เร่ร่อน (Girovaghi) ต้องขึ้นกับกฎหมายพระศาสนจักรสากลและเฉพาะถิ่น ที่มีผลบังคับในถิ่นที่ผู้นั้นปรากฏตัวอยู่ (๑๓ § ๓)
๔. สมาชิกของสถาบันชีวิตที่ถวายตัว (IVC) ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขึ้นกับกฎหมายที่เป็นของสังฆมณฑลโดยเฉพาะ

-->
เนื้อหาและรูปภาพในบล็อกนี้ แม้จะไม่ใช่มืออาชีพ..แต่ถ้าจะนำไปใช้ในการอื่น ขอให้แจ้งเจ้าของบล็อกนิดนึงนะครับ
สงวนลิกขสิทธิ์ตามพ.ร.บ. ครับ...