Edit title Here

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่
นักคิดร้อยคำ นักธรรมร้อยใจ
วันนี้มีอะไรใหม่ ๆ เสมอในชีวิต
อย่างน้อยก็มีความรักของพระเจ้า
เป็นความรัก...ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง...
และอยู่กับเราเสมอ...แม้เราจะไม่ค่อยใส่ใจก็ตาม
Enter
BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผลของกฎหมายพระศาสนจักร

ผลของกฎหมายพระศาสนจักร
(มาตรา ๑๔-๑๕: ๑๕-๑๖; CA ๑,๓)

ผลของกฎหมายพระศาสนจักรก็คล้าย ๆ กับกฎหมายทั่ว ๆ ไป คือ การบังคับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ในภาษาละตินกล่าวไว้ว่า “Sicut calor qui non calefacit non est calor, est lux quae no lucet non est lux, ital ex quae non ligat non est lex: lex enim a ligando
               
                หลักการทั่วไป
๑. กฎหมายที่มีข้อสงสัย ทั้งเรื่องการกระทำเป็นโมฆะ (Irritanti) และการให้บุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถ (Inabilitani) เป็นข้อสงสัยในกฎหมาย ไม่ใช่ในข้อห้ามหรือไม่ใช่ข้อสงสัยในการกระทำ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นสามารถยกเว้นได้ อย่างไรก็ตามต้องยึดกรณีที่ Romano Pontefice เคยให้การยกเว้นมาแล้วเป็นแนวทางในการยกเว้น (มาตรา ๑๔)

๒. ความไม่รู้ (Ignoranza) และความเข้าใจผิด (Errore) ที่เป็นข้อแก้ตัวทางกฎหมาย ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีการกระทำที่เป็นโมฆะและการให้บุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถได้ เว้นแต่ว่ากฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา ๑๕ § ๑)

๓. ห้ามสันนิษฐานว่ามีความไม่รู้(Ignoranza) หรือ ความเข้าใจผิด (Errore) เกี่ยวกับกฎหมาย เกี่ยวกับบทลงโทษ เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง หรือ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของผู้อื่น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นพฤติกรรมที่ยังไม่เคยปรากฎมาก่อน หรือไม่เป็นที่รู้จักก็ให้สันนิษฐานได้ จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ (มาตรา ๑๕ § ๒)

๔. กฎหมายเกี่ยวกับ “ข้อสันนิษฐานเรื่องภัยสากล” (Presunzione di un pericolo universale) มีผลบังคับใช้ด้วย แต่ถ้าหากเป็นกรณีเฉพาะจะไม่มีผลบังคับใช้ (Substantia canonis suppressi simper valet…-Relatio, p. 25)

๕. กฎหมายที่เกี่ยวกับ “ข้อสันนิษฐานเรื่องการกระทำ” (Presunzione di un fatto) มีผลบังคับใช้ต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หมายถึง ไม่สามารถบังคับใช้แค่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

๖. กฎหมายที่เกี่ยวกับ “การหลอกลวงของกฎหมาย” (Finzione del diritto) (หมายถึง กฎหมายที่ควบคุมความถูกต้องในกรณีที่สามารถเป็นไปได้และถูกต้อง) มีผลบังคับใช้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย เพราะว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่าง เรื่องบุตรที่เกิดมาก่อนการแต่งงาน, เรื่องบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย

๗. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นโมฆะ (Irritanti) และการทำให้บุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถ (Inabilitanti) จะต้องเป็นกฎหมายที่ตราขึ้น อย่างชัดเจน หรืออย่างเสมอภาค หรือ ที่กำหนดว่าการกระทำเป็นโมฆะ หรือ ที่กำหนดว่าบุคคลที่เป็นผู้ไร้ความสามารถ ต้องทำให้ถูกต้องตามนิยามของการกระทำนั้น ๆ

๘. ความไม่รู้ทุกชนิด ไม่สามารถเป็นข้อแก้ตัวได้ เว้นแต่ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

-->
เนื้อหาและรูปภาพในบล็อกนี้ แม้จะไม่ใช่มืออาชีพ..แต่ถ้าจะนำไปใช้ในการอื่น ขอให้แจ้งเจ้าของบล็อกนิดนึงนะครับ
สงวนลิกขสิทธิ์ตามพ.ร.บ. ครับ...