การตีความกฎหมาย
(มาตรา ๑๖-๑๘: ๑๗-๑๙; Paulus PP.VI, m.p. Finis Concilio, ๓ ian. ๑๙๖๖;
Sec. Notif. ๙๙๗๖๖, ๑๑ iul. ๑๙๗๑)
เกริ่นนำ
การตีความกฎหมาย (Interpretazione) คือ การอธิบายในกรณีสงสัย หรือในกรณีคลุมเครือของข้อกฎหมาย: Quod non est clarum non est ius.
กฎหมายต้องกระชับแต่ชัดเจนเพราะว่าบุคคลในบังคับใช้จะได้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย ว่าผู้ออกกฎหมายต้องการสั่งให้ทำอะไร ห้ามทำอะไร หรืออนุญาตให้ทำอะไร
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งกฎหมายก็ต้องการการอธิบายให้ชัดเจนในข้อสงสัย ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติของกฎหมายหรือเกิดขึ้นเมื่อต้องการขยายความกฎหมาย
ข้อกฎหมายที่เรียกว่า มีข้อสงสัย ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ได้อธิบายไว้
หลักการในการตีความ
Autentica
เป็นการกระทำโดย ผู้ตรากฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ตรากฎหมาย อธิการสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้กระทำ ดังต่อไปนี้
๑. การตีความแบบสากล (Generale) ดำเนินการโดยอำนาจนิติบัญญัติ และมีผลบังคับใช้ต่อบุคคลในบังคับใช้ทุกคน โดยทั่วไปแล้วในพระศาสนจักรจะกระทำโดย “Pontificium Consilium de legum texitibus interpretandis” (Const. Ap. Pastor Bonus, artt. 154-158)
๒. การตีความแบบเฉพาะถิ่น (Particolare) ดำเนินการโดยอำนาจตุลาการ หรืออำนาจบริหาร และมีผลบังคับใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ในขอบข่ายที่กำหนดไว้นั้น (con Sentenzae o Decreti)
Non Autentica
เป็นการกระทำโดยผู้อื่น ดังต่อไปนี้
๑. ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎี (Dottrinale) ให้กระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
๒. ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป (Usuale) ให้กระทำโดยใช้ประเพณีของกลุ่มคริสตชน
๓. ถ้าเกี่ยวกับการประกาศ (Dichiarativa) ให้ประกาศเฉพาะเนื้อหาที่มีในกฎหมายอย่างถูกต้องเท่านั้น
๔. ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอธิบายความ (Esplicativa) ข้อกฎหมายที่มีข้อสงสัยหรือที่ไม่ชัดเจน ให้อธิบายแบบเอื้อต่อผู้อยู่ในบังคับใช้ (Oggettivamente) ในขอบเขตตามวิธีการที่ผู้ตรากฎหมายใช้
๕. ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจ (Conprensive) เนื้อหาที่มีข้อสงสัย ให้อธิบายในเชิงลึกถึงนิยามของคำต่าง ๆ ในข้อกฎหมาย แบบเอื้อต่อผู้ที่อยู่ในบังคับใช้